การปฐมนิเทศ IFYE ไทย เพื่อเดินทางไปแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศประจำปี 2567

/*! elementor – v3.11.3 – 07-03-2023 */
.elementor-heading-title{padding:0;margin:0;line-height:1}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title[class*=elementor-size-]>a{color:inherit;font-size:inherit;line-height:inherit}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-small{font-size:15px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-medium{font-size:19px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-large{font-size:29px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xl{font-size:39px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xxl{font-size:59px}

ปฐมนิเทศ โครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ ประจำปี 2567

สมุดบันทึกความทรงจำในกิจกรรมปฐมนิเทศ โครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ IFEY Thailand

9 มิถุนายน พ.ศ.2567

วันแรกของการปฐมนิเทศของโครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ IFYE Thailand ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 ที่ทุกคนที่ได้รับคัดเลือกไปแลกเปลี่ยน ณ ประเทศต่างๆได้มาเจอกันครั้งแรก เพื่อเข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการไปแลกเปลี่ยน เพื่อได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ณ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกันเป็นระยะเวลากว่า 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 9  – 15 มิถุนายน พ.ศ.2567

/*! elementor – v3.11.3 – 07-03-2023 */
.elementor-widget-image-carousel .swiper,.elementor-widget-image-carousel .swiper-container{position:static}.elementor-widget-image-carousel .swiper-container .swiper-slide figure,.elementor-widget-image-carousel .swiper .swiper-slide figure{line-height:inherit}.elementor-widget-image-carousel .swiper-slide{text-align:center}.elementor-image-carousel-wrapper:not(.swiper-container-initialized) .swiper-slide,.elementor-image-carousel-wrapper:not(.swiper-initialized) .swiper-slide{max-width:calc(100% / var(–e-image-carousel-slides-to-show, 3))}

LINE_ALBUM_692024_240614_1
LINE_ALBUM_692024_240614_2
IMG_0107
IMG_0104

Previous
Next

ในเวลา 16.00 น. พวกเราก็ได้เดินทางมาถึงสถานที่พักในอุทยาน ก็ได้สัมผัสกับบรรยากาศของที่พักที่มีน้ำตกไหลผ่าน ประกอบกับเสียงของการไหลของน้ำที่ช่วยให้ผ่อนคลาย หลังจากถึงสถานที่พักเราได้มีการขนย้ายสำภาระ และแบ่งห้องนอนกัน โดยมีการจัดให้พักกับ 2 – 3 คน เพื่อให้สมาชิกได้มีการทำความรู้จักกันมากยิ่งขึ้น และได้แยกย้ายกันไปพักผ่อนเพื่อให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง และนัดหมายพบกันเพื่อรับประทานอาหารเย็น เมื่อถึงเวลานัดหมายทุกคนก็ได้มาพร้อมเพรียงกันพร้อมกับพบอาหารมื้อใหญ่ที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ เพลิดเพลินไปกับอาหารเย็น และพูดคุยทำความรู้จักกันเบื้องต้น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชีวิตกันเพื่อทำให้เกิดความสนิทสนมกันมากขึ้น เมื่อพูดคุยกันพอหอมปากหอมคอได้ทำความรู้จักกันก็แยกย้ายกันไปพักผ่อน และนัดหมายเพื่อทำกิจกรรมกันในวันรุ่งขึ้น

10 มิถุนายน พ.ศ.2567

เช้าอันชุ่มฉ่ำ การตื่นเช้าของเราเต็มด้วยหมอกจากภูเขา สายฝนโปรยปรายลงมาเล็กน้อย  สีเขียวจากต้นไม้และพื้นหญ้า ทำให้พวกเรารู้สึกถึงความสดชื่น พร้อมเริ่มต้นวันดีดี แต่กองทัพต้องเดินด้วยท้อง พวกเราจึงมุ่งไปที่ห้องรับประทานอาหารเช้า ซึ่งมีเมนูอาหาร คือ ข้าวต้มไก่ เมื่อพวกเราทานข้าวกันเสร็จ ได้รวมตัวไปที่ห้องประชุมเพลินพนา โดยกิจกรรมแรกที่พวกเราได้เข้าร่วมคือการแนะนำโครงการและการแนะนำตัวเองของพวกเราทั้ง 9 คน

LINE_ALBUM_6102024_240614_3
LINE_ALBUM_6102024_240614_8
LINE_ALBUM_6102024_240614_7
LINE_ALBUM_6102024_240614_2
LINE_ALBUM_6102024_240614_9
LINE_ALBUM_6102024_240614_1
LINE_ALBUM_6102024_240614_4
LINE_ALBUM_6102024_240614_6

Previous
Next

การรับฟังการบรรยายในหัวข้อ ความเป็นมาและการดำเนินงานส่งเสริมยุวเกษตรกรไทย โดยนายวีระศักดิ์ สุขทอง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี บรรยากาศเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง เมื่อถึงเวลาเที่ยงพวกเราได้ไปทานอาหารกันที่ห้องอาหารเดิม ทุกเมนูเต็มไปด้วยความน่ากิน คือ ไข่เจียว ต้มจืดหน่อไม้ ปลาทอดราดพริกแกง กระหล่ำปลีผัดน้ำปลา ผัดกะเพรา แต่ต่อให้เมนูจะเยอะแค่ไหน พวกเราไม่ยอมแพ้หมดทุกเมนูตามเคย

ในช่วงบ่ายพวกเราได้รับฟังบรรยายในหัวข้อ กระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร โดย วิทยากรของศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตรอาเซียน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพวกเราได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องกระบวนการกลุ่มยุวเกษตร ที่มาของกลุ่มยุวเกษตรกร ซึ่งมีตัวย่อ 4ก ประกอบด้วย เกศ  หมายถึง  การฝึกสมอง,  กมล หมายถึง  การฝึกใจ,  กร    หมายถึง  การฝึกใช้มือ, กาย  หมายถึง  การฝึกพลานามัยและยังมีกิจกรรมสนุกๆให้พวกเราได้รู้จักกันและกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น หลังจากจบกิจกรรมพวกเราได้แยกย้ายกันเข้าที่พักกันเล็กน้อย และพวกเราบางส่วนได้ออกมาเดินเล่นที่น้ำตกหน้าที่พัก น้ำตกเย็นและน้ำใสจนห็นตัวปลา หลังจากเดินเล่นพวกเราได้เดินกลับมาที่บ้านพัก อาหารก็จัดเสร็จพอดี พวกเราจึงเริ่มรับประทานอาหารกัน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันจนเวลาล่วงเลยมาถึงมืด พวกเราจึงต่างพากันเข้านอน

10 มิถุนายน พ.ศ.2567

สวัสดีทุกคนวันนี้เป็นวันปฐมนิเทศวันที่ 2 พวกเราเริ่มนัดรวมตัวกันเพื่อออกจากที่พักในช่วง  8.00 น. เพื่อขึ้นรถกอล์ฟหน้าที่พักไปรับประทานอาหารเช้าที่ Erawan coffee ข้าวเช้าวันนี้ เป็นข้าวต้มกุ๊ยกับกับข้าว คือ หัวไชโป้วผัดไข่ ผัดผักบุ้ง ผักกาดดอง กุนเชียงทอด กินข้าวเสร็จรวมตัวกันเพื่อขึ้นรถตู้ ซึ่งมี 2 คัน ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์รถจาก กฟผ.เพื่อเดินทางไปยังดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีอย่างยั่งยืน ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างการเดินทางออกจากอุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ ทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยธรรมชาติ

เมื่อเดินทางไปถึงที่ศูนย์การเรียนรู้ “ชีววิถีพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และ ได้รับการต้อนรับจากฟาร์มพีระพล และได้เรียนรู้ความเป็นมาของศูนย์การเรียนรู้

LINE_ALBUM_6102024_240614_18
LINE_ALBUM_6102024_240614_12
LINE_ALBUM_6102024_240614_11
LINE_ALBUM_6102024_240614_10
LINE_ALBUM_6102024_240614_19
LINE_ALBUM_6102024_240614_14
LINE_ALBUM_6102024_240614_15
LINE_ALBUM_6102024_240614_13
LINE_ALBUM_6102024_240614_17
LINE_ALBUM_6102024_240614_20

Previous
Next

ศูนย์การเรียนรู้นี้เป็นการส่งต่อจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ในอดีตเดิมอยู่ในพื้นที่กลางน้ำ จะมีการสร้างเขื่อนจึงได้ย้ายมาอยู่ในพื้นที่ที่ถูกจัดสรรให้ในบริเวณดังกล่าว ผู้คนที่ย้ายขึ้นมาได้มีการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อทำอาชีพการเกษตรในชุมชนส่วนใหญ่มีการทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไร่มันสำปะหลัง แต่ทางรุ่นพ่อได้เห็นถึงความเสียหายจากการใช้สารเคมีต่างๆที่ตกค้างในดิน ทำลายหน้าดินที่เกิดความเสียหาย มีการได้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างๆจึงได้มีการปรับใช้โดยการนำเมล็ดปอเทืองพืชตระกูลถั่วมาปลูกเพื่อปรับปรุงดิน จนทำให้คนอื่นๆในชุมชนต่างมองว่า “บ้าหรือเปล่า” ปลูกอะไรก็ไม่รู้ ต่างคนต่างมองและสงสัย จนกระทั่งเขาได้ทำการปลูกและปรับปรุงดินได้แล้ว จึงได้ตรวจดูค่า pH ของดินให้เหมาะสม และมีการปลูกหญ้าแฝกในการป้องกันหน้าดินพังทลาย เนื่องจากในพื้นที่เป็นที่ลาดชันทำให้ดินสไลด์ไปในพื้นที่ของคนอื่นๆ และได้เริ่มทำการปลูกพืชต่างๆ มีการปลูกมะม่วงและล้อมด้วยหญ้าแฝกเพื่อให้หญ้าช่วยในการเก็บความชื้นในดินและกักเก็บน้ำ โดยเริ่มต้นวางแผนก่อนปลูกโดยดูที่ระยะการให้ผลผลิตของพืช โดยทางฟาร์มมีการวางแผนปลูกพืชเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ได้แก่ มะละกอ ประกอบด้วยพันธุ์ฮอร์แลนด์และพันธุ์ฮาวาย ซึ่งพันธุ์ฮอร์แลนด์ได้มีการปลูกและส่งไปยังประเทศเยอรมนี และปลูกกล้วย เพื่อให้ผลเร็วเพื่อหารายได้ก่อนเพราะพืชระยะกลางและระยะยาวนั้นกว่าจะให้ผลผลิตก็อีกนาน เน้นเป็นไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทุเรียน มะม่วง ผสมกันตามความเหมาะสม และมีการหมักปุ๋ย จากมูลสัตว์ซึ่งเดิมได้มีการเลี้ยง สุกร และเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงไก่ แทนสุกรเพื่อนำมูลมาหมักกับใบไผ่ในพื้นที่ เพื่อประหยัดค่าปุ๋ยและทางสวนเองก็ต้องการพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุดโดยการทำตามศาสตร์ของพระราชา และใช้ของที่มีให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเช่นของเสียจากผลไม้ หญ้า ก็มีการเลี้ยงปลากินพืชเพื่อแปรรูปจากของเสียเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์และไม่เหลือทิ้ง และทางสวนเองก็ได้มีการทำสวนแบบวนเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในระยะยาว และได้มีการนำแก้ปัญหาการทำงานหนักโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้แรงงานและความแม่นยำในการทำเกษตร ทางฟาร์มได้มีแนวคิดที่สำคัญในยุคนี้คือ“ตลาดนำผลิต”โดยหมายความว่า ก่อนที่คุณจะผลิตอะไรนั้นคุณควรหาตลาดก่อน ดูตลาดก่อนว่าตลาดต้องการอะไร แล้วจึงทำสิ่งที่ตลาดต้องการออกมา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเวลาผลิตออกมาแล้วไม่มีตลาดรองรับหรือลำบากในการหาตลาดและเป็นการลดความเสี่ยงไปในตัว จนทางสวนได้รับการยอมรับจากสากลได้มาตรฐานFAO และได้มีการส่งออกสินค้าแปรรูปเกษตรไปที่ต่างประเทศ“จากไร่มัน ข้าวโพดสู่พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์” และได้มีการเดินดูพื้นที่จริง เริ่มจากป่าไผ่ โรงเก็บอุปกรณ์ที่มีการทำปุ๋ยหมัก สวนมะม่วง สวนเงาะ ได้ไปดูวิธีการแจ้งเตือนเพื่อไปไล่ช้าง และได้ไปดูบ่อปลา และระบบน้ำของที่สวน กลับมากินข้าวร่วมกัน และถ่ายรูปร่วมกัน

LINE_ALBUM_6102024_240614_22
LINE_ALBUM_6102024_240614_21
LINE_ALBUM_6102024_240614_27
LINE_ALBUM_6102024_240614_23
S__2326534_0
S__2326532_0
LINE_ALBUM_6102024_240614_26

Previous
Next

จากนั้นพวกเราได้เดินทางต่อไปยังไร่ผลาผลต่อ ซึ่งเป็นสวนอินทผลัมของพี่อำนาจ สีนาค Young Smart Farmer โดยสวนนี้ริเริ่มจากที่พี่อำนาจมีปัญหาด้านสุขภาพจากการทำงานประจำ บวกกับการที่เป็นคนชอบอยู่บ้าน พี่อำนาจจึงได้ผันตัวออกมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัม เริ่มแรกจากการปลูกด้วยการเพาะเมล็ดแต่ผลที่ได้คือ มีต้นตัวเมียแค่ 19 จาก 100 ต้น ผลผลิตที่ได้ไม่ได้มาตรฐาน ขนาดเล็ก เปลือกหนา รสชาติฝาด พี่อำนาจจึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูก จากการปลูกโดยใช้เมล็ดเป็นการซื้อต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในราคาต้นละ 2000 บาท ส่วนการดูเเลต้นพี่อำนาจใส่ปุ๋ยทุก 10 วัน โดยไม่ซ้ำสูตรโดยจากการสังเกตและศึกษาข้อมูลอากาศเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของต้นอินทผลัม ผลผลิตที่ได้มีขนาดใหญ่ ปริมาณเยอะ รสชาติหวาน กรอบ การจัดจำหน่ายคือมีคนมาจองทั้งหมดแล้ว

Scroll to Top
Skip to content